T=Thriving to Develop

มุ่งมันที่จะตั้งใจปฎิบัติหน้าที่ ศึกษา เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมายธุรกิจขององค์กรและพัฒนาตั้งใจปฎิบัติหน้าที่ ศึกษา เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมายธุรกิจขององค์กร

โครงการปลูกกัญชง เชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม

โครงการปลูกกัญชง เชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม

บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือมีพื้นที่ที่ยังไม่ได้พัฒนาในเชิงธุรกิจโดยตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทราในบริเวณที่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีนโยบายนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ และสร้างรายได้ในสาขาอื่นนอกเหนือจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯจึงได้พิจารณาว่าควรใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรในเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม โดยเป็นขณะเดียวกันกับที่รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาลในอนาคต สามารถใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านสาธารณสุข อาหาร เครื่องสำอางค์ สิ่งทอ หรือแม้แต่วงการอุตสาหกรรมยานยนต์ ทางบริษัทฯจึงได้ทำการศึกษาในรายละเอียดทั้งในด้านกฏหมาย ประโยชน์การใช้สอย ความคุ้มค่าในการลงทุน การตลาดในอนาคต รวมทั้งสรรหาคู่ค้าทางธุรกิจ ดังนั้น จึงได้ตัดสินใจที่จะทดลองปลูกกัญชง (Hemp) ในเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรมซึ่งดำเนินโครงการโดยบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ กรีน เอ็นเนอร์ยี จำกัด หนึ่งในเครือเอ็ม ดี เอ็กซ์กรุ๊ป

ที่ตั้งโครงการ โครงการปลูกกัญชง เชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม ตั้งอยู่ติดกับนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา บนเนื้อที่ประมาณ 7,280 ตารางเมตร และมีแผนที่จะขยายพื้นที่การปลูกเพิ่มเติมในบริเวณเดียวกัน

ในระยะแรกนี้โครงการฯ ตั้งเป้าหมายในการผลิต (ปลูก) ที่จำนวน 12,000 ต้นต่อปี โดยเป็นกัญชงสายพันธุ์ Auto ที่มีรอบระยะเวลาของการปลูกประมาณ 75-90 วัน/รอบ ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต โครงการมีความตั้งใจอย่างสูงที่จะปลูกกัญชงที่มีคุณภาพสูงภายใต้การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พื้นที่ปฏิบัติการเป็นโรงเรือน Green house ขนาด 24 X 48 เมตร โดยติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นด้วยระบบ Evaporative Cooling System และระบบน้ำแบบ Reverse Osmosis (R.O.) ซึ่งได้ทดสอบระบบในเดือนธันวาคม 2565 และเริ่มทำการปลูกกัญชงรอบแรกช่วงต้นปี 2566

โครงการปลูกไม้ชีวมวล

โครงการปลูกไม้ชีวมวล

โครงการปลูกไม้ชีวมวลเพื่อเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า

บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรกร (Kasetsart Agricultural and Agro-Industrial Product Improvement Institute : KAPI) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการปลูกพืชไม้โตเร็ว พันธุ์ไม้ยูคาลิปตัส (พันธุ์ K7 และ K2019) บนเนื้อที่ดินประมาณ 842 ไร่ โดยไม้ยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้น ความสูง 25 – 50 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เมตร ระยะเวลาการปลูก 3 ถึง 5 ปี ให้ค่าพลังงานความร้อน 5,000 – 7,000 Cal/g.

การดำเนินงานเริ่มการปลูกไม้ชีวมวลในปี พ.ศ. 2563 จำนวนประมาณ 300,000 ต้น คาดว่าจะได้ผลผลิต 15 ตันต่อไร่ โดยไม้ยูคาลิปตัสที่ปลูกได้จะดำเนินการตัดขายเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่โดยรอบและใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ ต่อไป

โรงงานพลังงานความร้อนร่วม

โรงงานพลังงานความร้อนร่วม

โครงการโรงไฟฟ้าความร้อนร่วม บางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

โครงการผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าอิสระ(IPP) ที่ได้รับการคัดเลือกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนาด 350 เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ใน อำเภอ บางบ่อ จังหวัด สมุทรปราการ ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์นเพาเวอร์แอนด์อิเล็คทริค จำกัด โดย บริษัท จี เอ็ม เอส เพาเวอร์จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในบริษัท อีสเทิร์น เพาเวอร์ แอนด์ อิเล็คทริค จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 32 และผู้ร่วมทุนอื่นประกอบด้วย

บริษัท มารูเบนิ คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 28 (ปัจจุบันได้โอนหุ้นให้กับบริษัทในเครือ ชื่อบริษัท แอ็คเซีย เพาเวอร์ โฮลดิ้ง บี.วี.) Total Gas and Power Thailand S.A. (TOTAL) ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานจากประเทศฝรั่งเศสที่ใหญ่ติดอันดับหนึ่งในห้าของโลกถือหุ้นในอัตราร้อยละ 28 China Development Industrial Bank Inc. ธนาคารเพื่ออุตสาหกรรมชั้นนำของไต้หวันถือหุ้นในอัตราร้อยละ 12 โครงการไฟฟ้าบางบ่อได้ผ่านการทดสอบการเดินเครื่องครั้งสุดท้ายและเดินเครื่องเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2546

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

โครงการพลังงานน้ำเทินหินบูน ประเทศ สปป. ลาว

โครงการไฟฟ้าเทิน-หินบูน เป็นโครงการพลังงานไฟฟ้าโครงการแรกของกลุ่มบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการโดยบริษัท จี เอ็ม เอส ลาว จำกัด (บมจ. จี เอ็ม เอส เพาเวอร์ ถือหุ้น 100%) ผ่านบริษัท เทิน-หินบูน พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท จี เอ็ม เอส ลาว จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20 การไฟฟ้าลาวถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 60 และกลุ่ม Nordic Hydropower AB ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20

เทิน-หินบูนเป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำขนาด210เมกกะวัตต์นับเป็นโครงการพลังงานไฟฟ้าโครงการแรกในลาวที่ดำเนินงานโดยบริษัทเอกชนต่างประเทศเพื่อผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทยและได้รับสัมปทานจากรัฐบาลลาวให้ดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าในระยะเวลา 30 ปี ซึ่งสามารถต่ออายุสัญญาได้ และยังเป็นโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าโครงการแรกของลาวที่ลงนามในข้อตกลงการซื้อไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสร้างเสร็จสมบูรณ์และเริ่มดำเนินการในเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี 2541

ต่อมาได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างบริษัท เทิน-หินบูน กับรัฐบาลลาวให้บริษัท เทิน หินบูน ได้สิทธิที่จะขยายโครงการเพิ่มขึ้นเป็น500เมกกะวัตต์ทำให้ปริมาณไฟฟ้าที่ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นเป็น 440 เมกกะวัตต์และอีก 60 เมกกะวัตต์ จะถูกขายให้การไฟฟ้าลาว โดยได้มีการลงนามแก้ไขสัญญาการซื้อไฟฟ้าของโครงการเทิน-หินบูนกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว